“ชาวประมงพื้นบ้าน” คือ “ผู้รักษาทะเลโดยธรรมชาติ” ที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล ปกป้องทรัพยากรทางทะเล หล่อเลี้ยงชีวิตคนชายฝั่ง และสืบสานภูมิปัญญาบรรพบุรุษ
ครัวของโลก
ทะเลซึ่งเต็มไปด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์มากมาย และในพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล เป็นแหล่งอาหารสำคัญของมนุษย์
หนึ่งในผู้ดูแลรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล ที่หลายคนอาจมองข้าม คือ "ชาวประมงพื้นบ้าน" ซึ่งเปรียบเสมือน เพื่อนเก่าแก่ของท้องทะเล เพราะกลุ่มผู้คนเหล่านี้อาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเล ใช้วิถีชีวิตเรียบง่าย มีความผูกพันกับท้องทะเล ประกอบอาชีพประมงด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ
Sea-ทะเล
รักษา สมดุลทางนิเวศ พี่ๆ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเล ใช้วิธีการจับปลาแบบดั้งเดิมที่ไม่ทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติ
ถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เกี่ยวกับการทำประมง การแปรรูปอาหารทะเล วัฒนธรรมประเพณี เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับท้องทะเล
Health-สุขภาพ
ส่งต่ออาหารทะเลปลอดภัย ปลา กุ้ง หมึก ปู จากท้องทะเล สู่ผู้บริโภค
People-ผู้คน
กลไกของเศรษฐกิจท้องถิ่น อาชีพประมงพื้นบ้าน สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชุมชนริมชายฝั่งทะเล
สังคม สร้างความสัมพันธ์ ความสามัคคี เพราะเป็นอาชีพที่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวประมงพื้นบ้านและชาวมอแกลนคืออะไร
การเข้าใจธรรมชาติ รู้จักฤดูกาล และใช้อุปกรณ์ที่เรียบง่าย แต่มีประสิทธิภาพ การทำประมงแบบไม่เอาเปรียบทะเลจนเกินสมดุล ให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ทำลายทรัพยากร จับสัตว์น้ำในปริมาณที่เหมาะสม และเชื่อมโยงกับชุมชน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำประมงพื้นบ้านนั้นเรียบง่าย ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ำ แต่ละภูมิประเทศ และภูมิปัญญาของผู้คน อุปกรณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไป เช่น
- เบ็ด ใช้สำหรับตกปลา
- แห ใช้สำหรับล้อมจับปลา
- ลอบ ใช้สำหรับดักจับปลา
- ไซ ใช้สำหรับกั้นปลา
วิธีการทำประมงพื้นบ้านนั้นหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์น้ำ เช่น
- การตกปลา ใช้เบ็ดตกปลาจากเรือ หรือตามชายฝั่ง
- การล้อมจับปลา ใช้แหล้อมจับปลาเป็นฝูง
- การดักจับปลา ใช้ลอบหรือไซดักจับปลาตามแนวชายฝั่ง
- การดำน้ำหาปลา ดำน้ำลงไปเก็บหอย ปู หรือสัตว์น้ำอื่นๆ
ทว่า วิถีชีวิตของชาวประมงและพวกเรากำลังเผชิญกับภัยคุกคามหลายประการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: อุณภูมิโลกร้อนขึ้นส่งผลต่อสภาพแวดล้อมทางทะเล ปลาบางชนิดสูญพันธุ์ มลพิษทางทะเล: ส่งผลต่อสุขภาพของปลา และระบบนิเวศทางทะเล การรุกรานพื้นที่ชายฝั่งทะเล: จากการพัฒนาอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ส่งผลต่อแหล่งทำประมง
การอนุรักษ์และสนับสนุนชาวประมงพื้นบ้าน ชาวมอแกลน จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เราจึงอยากบอกเล่าถึง คุณค่า ของชาวประมงพื้นบ้าน ชวนให้ผู้บริโภค เลือกซื้ออาหารทะเลจากแหล่งที่ยั่งยืน ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเล และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สนับสนุนให้ผู้คนเรียนรู้ สัมผัส วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ของผู้รักษาทะเลโดยธรรมชาติ เช่น ทริปมอแกลนพาเที่ยว ที่หาดทับตะวันจังหวัดพังงา
เพราะเราอยากให้คุณกินของดีๆไปนานๆ
ถึงแม้ชาวประมงพื้นบ้านจะมีภูมิปัญญาการจับปลาที่เก่ง แต่ผู้รักษาทะเลของเราไม่ชำนาญ การตลาด การเพิ่มมูลค่าสินค้า และการขยายช่องทางขาย แมวกินปลาจึงเชื่อมโยง ผู้คน สุขภาพ และท้องทะเล โดยรับวัตถุดิบอาหารทะเลจากผู้คนที่เป็นพี่ๆ ชาวประมงเรือเล็ก มาจัดการตัดแต่ง ทำความสะอาด แพคซีลสุญญากาศ และจัดส่งด้วยรถควบคุมอุณหภูมิ เพื่อส่งต่อสุขภาพที่ดีผ่านการกินอาหารปลอดภัย
แมวกินปลาจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนเริ่มต้นดูแลทะเลกับเราผ่านการสนับสนุนสินค้าวัตถุดิบอาหารทะเลของ พี่ๆ ผู้รักษาทะเลโดยธรรมชาติ ให้ครัวโลกของเรายังมีของดีๆ ให้คุณกินไปนานๆ
ข้อมูลอ้างอิงจาก
บทความทั่วไปเกี่ยวกับบทบาทของชาวประมงพื้นบ้าน:
- บทบาทของชาวประมงพื้นบ้านและการจัดการทรัพยากรประมงทะเลในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- เรื่องเล่าชาวประมงพื้นบ้านในยุค Covid-19 กับบทบาท 'ทูตอาหารทะเล ส่งปลาจากชุมชนถึงผู้เสียสละ'
- ประมงพื้นบ้าน
- สมาคมรักษ์ทะเลไทย
- กรีนพีซ ประเทศไทย
- กรมประมง
- งานวิจัย บทบาทของชาวประมงพื้นบ้านในบริบทของการจัดการทรัพยากรประมงทะเลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
พู่กัน
Writer
แอดมิน ดูแล Stock หลังบ้าน และรักแมวทุกตัวบนโลก