เมื่อคุณเปิดหน้าเมนูรายการสินค้าของเรา จะพบกับปลาหลายสิบชนิด บางชนิดอาจเคยรู้จัก เคยกิน บางชนิดไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย…
การนำเสนอเมนูอาหารจากวัตถุดิบที่ลูกค้าไม่เคยรู้จัก ไม่เคยกิน เป็นงานหลักของเราทีม ‘แมวกินปลา’ มาตลอดตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้
พวกเราจึง อยากทำกิจกรรมที่สร้างประสบการณ์ดีๆ ในการทานปลาทะเลหน้าไม่คุ้นให้กับลูกค้าที่สนใจอยากมีสุขภาพที่ดี และอยากดูแลทะเลให้มีของกินดีๆไปนานๆ จึงชวน พี่ป๋วย นักกำหนดอาหาร เจ้าของร้าน Little Sunshine และ พี่แอ๊ว นักออกแบบเมนูอาหาร เปิด Workshop : Enjoy Sustainable FISH at your home!! ในบ่ายวันอาทิตย์ที่แสงแดดอ่อนกำลังดีวันหนึ่ง…
ชวนมา enjoy eating กันนานๆ
“สวัสดีค่าา” เสียงทักทายจากพี่ส้ม ผู้ดูแลร้านสุดน่ารัก กล่าวทักทายด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ;) พี่ส้มพาเราไปที่ห้องกระจกโปร่งใสที่มีอุปกรณ์ครัว วัตถุดิบปลาทะเลวางเตรียมไว้สำหรับ workshop 6 ที่นั่ง ไม่นานพี่ป๋วย เจ้าของร้านที่มาพร้อมผ้ากันเปื้อนกับผ้าโพกหัวก็ปรากฏตัวออกมาจากหลังครัว ตามมาด้วยพี่แอ๊ว เซนเซของวันนี้
เราพูดคุยเกี่ยวกับอาหารในความหมายที่ว่า ‘กินเข้าไปแล้วมีประโยชน์ต่อร่างกาย’ แหล่งที่มาของวัตถุดิบอาหารทะเลโดยผู้ดูแลทะเลโดยธรรมชาติ check hand กับปลาหน้าไม่คุ้นกับการจับกลุ่มง่ายๆ ให้ได้เริ่มต้นลองชิมเนื้อปลาชนิดใหม่ๆที่ทำให้เรา enjoy eating ได้เหมือนปลาที่คุ้นเคย
ต่อด้วยข้อมูลจากนักกำหนดอาหารที่มาชวนตามหาโอเมก้า 3 จากปลาหน้าไม่คุ้น เหตุผลที่คนนิยมแซลมอนจากพี่แอ๊ว นักออกแบบเมนูอาหาร ทั้งที่ปลาเนื้อขาวก็มอบโมเมก้า 3 ให้เรามากพอๆ กัน ต่อด้วยเทคนิกการปรุงอาหารแบบ home cook ที่ทำง่ายอร่อยง่ายได้หาวัตถุดิบได้ในซุปเปอร์มาร์เกต แต่หน้าตาดีเด่น รสชาติอูมามิ เพียงเลือกวัตถุดิบที่ดึงรสชาติอาหารที่เข้ากับเนื้อปลาให้เหมาะกัน เป็นเหมือนความรู้พื้นฐานฉบับแม่บ้านครัวเล็ก
ทีเด็ดคือตัวละครลับของวันนี้ เชฟแชมป์ นักเรียนหนุ่มโอซาก้าที่มาพร้อมกระเป๋ามีดแล่ปลา special guest ของเราช่วยจัดการเจ้าอังเกยที่พึ่งกลับมาตัวนิ่ม หลังจากนอนหนาว -20 มาจากพังงา ที่นอนตาใสพร้อมอวัยวะและเกล็ดครบถ้วน เชฟบอกว่า
เราจะดูว่าปลาสดอยู่รึเปล่าให้ดมที่ท้องปลาหากมีกลิ่นเหม็นแสดงว่าด้านในความสดลดลงไปแล้ว เมื่อทุกคนดมเสร็จก็ถูกเฉลยว่าตรงนั้นคือตูดปลา!! และนี่คือการ เปิดประสบการณ์ดมตูดปลา หาความสดครั้งแรกของทุกคน
ความตื่นตาตื่นใจคือวิธีการแล่ปลาแบบญี่ปุ่น เชฟค่อยๆ ทำให้ดูทีละขั้นตอน จนเราได้เนื้อปลาอังเกยไร้ก้างชิ้นสวยออกมา
พี่แอ๊วรับช่วงต่อเริ่มต้นทำเมนูแรกให้พวกเราชิม ‘เซบิเซ่ปลาอังเกย’ หรือ ยำปลาเปรู รสชาติคล้ายยำปลาบ้านเรา ใช้เนื้อปลาสดๆ ให้รสชาติสดชื่น ต่อด้วยเมนู แกงคั่วใบชะพลูปลาอังเกยตัวเดิม ชาวไทยเมื่อได้กลิ่นแกงก็น้ำลายสอ พี่ๆ ใช้เวลาทุกนาทีได้สุดคุ้ม เพราะต่อจากแกงคั่ว
พี่แอ๊วก็ลงมือทำ ปลาอบมะเขือเทศและมะกอก ต่อด้วยปลาหัวเสี้ยมย่างมิโสะ ที่ทุกคนแอบหมักเนยมิโสะไว้ก่อนแล้ว ผ่านไป 4 ชั่วโมงเต็มแบบไม่ได้นั่ง และยังได้ขำกับบทสนทนาระหว่างคลาส ที่พลัดกันส่งรับมุกกันตลอดเวลา และได้ลงมือทำเมนูปลากันเอง จบวันแบบไม่หมดแรงแถมยังได้จอยกับผู้คน ที่สนใจเรื่องการกินแบบจอยๆ ให้สุขภาพดี เพื่อจะได้ เอนจอยอีสติ้งกันต่อไปได้นานๆ
ขอบคุณ พี่ป๋วยนักกำหนดอาหารที่เปิดโลกการกินดีแบบจอยๆให้พวกเรา แถมยังเป็นคุณแม่แมวที่ชอบกินผัก พี่แอ๊วสุดน่ารักที่ทำอาหารอร่อยสุดๆ แม้ไหล่เจ็บก็ไม่สามารถหยุดยั้งความจอยจากพี่ได้จริงๆ
ขอบคุณนะคะที่ยอมเปิดพื้นที่ที่อบอุ่นของพี่ๆ ให้เราได้ลองทำกิจกรรมเปิดประสบการณ์ดีๆ ในการทานปลาหน้าไม่คุ้นให้กับคอมมูนิตี้นี้ และขอบคุณเชฟแชมป์ที่ชวนเราดมตูดน้องปลาอังเกยและเผยไส้ พุง ตับ ของน้องให้เราเห็นอย่างสวยงาม
มิน
Writer
GB ในคราบ GM มีอย่างเดียวที่ยังไม่ได้ทำ คือ ‘จับปลา’